การไหลย้อนเป็นคำที่ใช้กล่าวถึงอาการที่สิ่งที่อยู่ในกระเพาะของลูกไหลย้อนออกมายังหลอดอาหาร หรือในปาก
สาเหตุของการไหลย้อนของลูกน้อย
ถึงแม้ว่าอาการไหลย้อนจะดูน่ากลัวเมื่อได้พบเห็นเป็นครั้งแรก แต่เป็นเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นกับทารก เพื่อให้คุณแม่เข้าใจสาเหตุของอาการนี้ เราควรรู้จักการทำงานของร่างกายกันก่อนสักเล็กน้อย
กะบังลมของคนเรานั้นเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานเหมือนวาล์ว มีหน้าที่หยุดอาหารไม่ให้ไหลย้อนขึ้นไปบนหลอดอาหารซึ่งเป็นท่อเชื่อมระหว่างกระเพาะกับปาก แต่ในบางครั้ง กะบังลมก็ไม่ได้แข็งแรงอย่างที่ควรจะเป็นในช่วงปีแรกของลูกน้อย แต่วาล์วนี้จะค่อยๆ พัฒนาจนแข็งแรงขึ้น เช่นเดียวกับโอกาสการเกิดการไหลย้อนที่จะลดลง
อาการไหลย้อน พบถึงร้อยละ 50 ของทารกที่เกิดมา แต่หลังจากอายุ 10 เดือนไปแล้ว โอกาสที่จะมีอาการนี้จะอยู่ที่ 1 ใน 20 คนเท่านั้น
คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่าลูกมีอาการไหลย้อน และจะทำอะไรได้บ้าง
หากลูกน้อยมีอาการไหลย้อน คุณแม่จะสังเกตได้ทันที เพราะ ลูกจะอาเจียนนมออกมาหลังจากกินนม หรือเกิดอาการสะอึก และถ้าอาเจียนออกมาแล้วแต่ไหลกลับไปไม่ถูกจังหวะ ลูกอาจมีอาการไอร่วมด้วย
แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลจนเกินไป ตราบใดที่ลูกยังดูมีสุขภาพดี ลูกน้อยก็จะไม่เป็นอะไรมาก คุณแม่เพียงแค่เตรียมผ้าหรือกระดาษทิชชูไว้ให้พร้อม เพื่อเช็ดนมที่หกออกมาเท่านั้น
แต่ก็มีในบางกรณีที่คุณแม่อาจจะต้องคุยกับกุมารแพทย์ร่วมด้วย คือ
- หากลูกมีอาการไหลย้อนมากกว่า 5 ครั้งต่อวัน
- หากลูกร้องไห้มากในระหว่างการกินนม
- หากลูกอาเจียนบ่อยครั้ง
- หากอาการไอกลายเป็นอาการที่เกิดอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม พยายามให้ลูกกินนมในท่าตั้งตรง หรืออุ้มลูกไว้ประมาณ 20 นาทีหลังกินนม และลดปริมาณนมในแต่ละครั้งให้น้อยลง แต่ให้กินนมบ่อยขึ้น
บทความนี้มีประโยชน์กับคุณหรือไม่?