รู้จัก เข้าใจเรื่องผ่าคลอด ตั้งแต่ต้นจนจบ
15 ธ.ค. 63
388
ขั้นตอนผ่าคลอด ขั้นตอนผ่าคลอด..เป็นอย่างไร คุณแม่ที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือข้อบ่งชี้ต่างๆ ขณะตั้งครรภ์ เช่น รกเกาะต่ำ ลูกอยู่ท่าก้น ปากมดลูกไม่เปิด หรืออื่นๆ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีผ่าคลอดทั้งสิ้น ซึ่งปัจจุบันการให้กำเนิดลูกน้อยแบบนี้ มีความปลอดภัยทั้งต่อคุณแม่และลูกสูง สามารถทำได้โดยไม่ต้องกังวลใดๆ
 
step1

เตรียมพร้อม
การผ่าตัด คลอดลูก นั้นสูติแพทย์มักจะกาหนดวันไว้ล่วงหน้า เพื่อให้คุณแม่ได้เตรียมตัว โดยก่อนที่คุณแม่จะผ่าคลอดจะมีขั้นตอนการเตรียมพร้อมดังนี้
  1. งดน้างดอาหาร 6-8 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสาลักอาหารเข้าปอดในระหว่างผ่าตัด โดยเฉพาะหากต้องดมยาสลบ และขณะที่คุณแม่ใส่ท่อช่วยหายใจ
  2. ทาความสะอาดและฆ่าเชื้อผิวหนังหน้าท้อง โกนขนบริเวณที่ใกล้กับจุดที่ผ่าตัด และใส่สายสวนปัสสาวะ
step2

ระงับความรู้สึกและผ่าตัด
  1. ให้ยาระงับความรู้สึก (ยาชาหรือยาสลบ) เพื่อให้คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บปวดขณะผ่าตัดคลอด และให้ยาแก้ปวดเพื่อลดความเจ็บปวดหลังจากหมดฤทธิ์ยาชาหรือยาสลบ โดยคุณแม่จะถูกเจาะเส้นเลือดเพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และสำหรับให้ยาต่างๆ การดมยาสลบ หรือการฉีดยาชาเฉพาะที่ หรือบล็อกหลัง เพื่อให้คุณแม่มีอาการชาไม่รู้สึกเจ็บตั้งแต่ช่วงเอวลงไปถึงขาทั้งสองข้างในขณะผ่าตัดนั้นจะพิจารณาตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี
  2. หลังจากคุณแม่ถูกระงับความรู้สึกแล้ว แพทย์จะใช้มีดผ่าตัดที่ผนังหน้าท้อง โดยผ่าลงไปในชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ชั้นกล้ามเนื้อ ชั้นเยื่อบุช่องท้อง แล้วผ่าเปิดมดลูก จากนั้นจึงนำลูกน้อย และรกที่อยู่ในมดลูกออก
step3

เย็บปิดแผล หลังจากลูกน้อยคลอดแล้ว แพทย์จะเย็บปิดแผลที่ผ่าตัดในแต่ละชั้น โดยเย็บซ่อมแซมแผลที่มดลูก จากนั้นจึงเย็บปิดชั้นเยื่อบุช่องท้อง ชั้นไขมัน และเย็บปิดแผลที่ชั้นผิวหนังหน้าท้อง ตามลำดับ

 
expertist-cartoon
 


การดมยา กับการบล็อกหลัง แตกต่างกันอย่างไร

 
doctor-cartoon
 

การดมยาสลบ และการบล็อกหลัง คือวิธีการระงับความเจ็บปวด และระงับความรู้สึกขณะผ่าคลอด เพื่อไม่ให้คุณแม่รู้สึกตัวขณะผ่าตัด หรือไม่มีความรู้สึกเจ็บบริเวณเฉพาะที่ผ่า โดยทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกัน คือ

การดมยาสลบ
เป็นการระงับความรู้สึกที่จะทำให้คุณแม่หมดสติหรือไม่รู้สึกตัวเลย วิธีการจะทำโดยวิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการให้คุณแม่ดมยาสลบผ่านหน้ากาก หรือได้รับยาสลบผ่านหลอดเลือดดำ และใส่ท่อช่วยหายใจ หลังจากนั้นคุณแม่จะหมดสติ ไม่รู้สึกเจ็บ และไม่รู้สึกตัวตลอดการผ่าตัด จนฤทธิ์ยาสลบหมด

การบล็อกหลัง
เป็นการฉีดยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ เพื่อทำให้คุณแม่รู้สึกชาเฉพาะบริเวณกลางลำตัวไปจนถึงขาในขณะผ่าตัดคลอด แต่ช่วงบนลำตัวจะยังมีความรู้สึก คุณแม่จึงสามารถรับรู้และสื่อสารขณะแพทย์ผ่าตัดคลอดได้ วิธีการ คือ วิสัญญีแพทย์จะแทงเข็มให้ยาเข้าไปในช่องไขสันหลังของคุณแม่ จากนั้นคุณแม่จะรู้สึกชาตั้งแต่ช่วงลำตัวไปจนถึงขา และไม่มีความรู้สึกในขณะที่แพทย์กำลังผ่าตัดคลอด
ก่อนที่คุณแม่จะต้องผ่าตัดคลอด จึงควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเลือกระงับความเจ็บปวดขณะผ่าตัดว่าสุขภาพและร่างกายคุณแม่เหมาะสมกับการระงับความรู้สึกแบบใดที่สุด

แผลผ่าตัดแนวไหน
โดยส่วนใหญ่การผ่าตัดคลอดจะมีวิธีการ 2 แนวทาง คือ

แบบการผ่าตัดแนวยาวตรง หรือแนวตั้งกลางตัวคุณแม่ (Vertical Midline Incision)
ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่นิยมนัก ยกเว้นกรณีคุณแม่มีภาวะฉุกเฉินหรือมีข้อบ่งชี้ต่างๆ เช่น ลูกน้อยในครรภ์กำลังขาดออกซิเจน ภาวะรกเกาะต่ำมีเลือดออกมาก วิธีการ คือ แพทย์จะลงมีดบริเวณใต้สะดือลงมาถึงบริเวณเหนือหัวหน่าวในทางตรงจากบนลงล่าง แล้วนำลูกน้อยในครรภ์ออกมา

การผ่าตัดแนวขวางหรือแนวบิกินี่
(Transverse Incision) ปัจจุบันเป็นแนวทางการผ่าตัดคลอดที่นิยมมากกว่าแนวตรง โดยแพทย์จะมีการลงมีดแนวขวาง และโค้งเล็กน้อยบนลำตัวคุณแม่บริเวณเหนือหัวหน่าวหรือที่เรียกว่า เส้นบิกินี่ และความยาวของแผลผ่าตัดส่วนใหญ่จะประมาณ 12-15 ซม.

 
c-section-how-to


นวัตกรรมการเย็บแผล ปิดแผลผ่าตัด
หลังจากลูกน้อยลืมตาออกมาดูโลกแล้ว ได้เวลาที่สูติแพทย์ผู้ผ่าตัดคลอดจะทำการเย็บแผลหรือปิดแผลให้คุณแม่ ในชั้นกล้ามเนื้อและผิวหนังต่างๆ และขั้นตอนสุดท้าย คือ การเย็บหรือปิดแผลที่ชั้นผิวหนังหน้าท้อง โดยทำได้หลายวิธี คือ
การใช้ไหมเย็บ โดยสูติแพทย์จะใช้ไหมเย็บแผลทางการแพทย์เย็บแผลผ่าตัดหน้าท้องคุณแม่ ซึ่งมีทั้งการใช้ไหมแบบละลาย หรือแบบที่ต้องตัดไหม แต่ในข่วง 6-7 วันแรก คุณแม่ต้องระวังไม่ให้แผลโดนน้ำ และเมื่อเปิดผ้าปิดแผลออก แผลแห้งดีแล้วก็ไม่ควรเกาหรือดึงสะเก็ดแผล แต่ควรปล่อยให้สะเก็ดที่แผลหลุดลอกออกเอง

การใช้แม็กซ์เย็บแผล
คือการใช้ลวดเย็บที่แผลผ่าตัดด้านนอกเพื่อให้ผิวหนังยึดติดกัน ป้องกันแผลแยกหรือแตกออก และป้องกันไม่ให้แผลโดนน้ำ โดยแพทย์จะดึงแม็กซ์เย็บแผลออกให้ใน ช่วงเวลาที่เหมาะสม
การใช้กาวปิดแผลทางการแพทย์ เป็นกาวปิดแผลที่ใช้ทางการแพทย์ มีประโยชน์เพื่อสมาน และยึดแผลผ่าตัดคลอดให้ติดสนิท กาวปิดแผลนี้ยังสามารถกันน้ำได้ โดยหลังผ่าตัดคุณแม่ไม่ต้องปิดพลาสเตอร์ปิดแผลภายนอกอีกด้วย
อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการเย็บแผลผ่าตัดเพื่อให้ เหมาะสมกับความต้องการสุขภาพของคุณแม่ และข้อบ่งชี้ต่างๆ เนื่องจากบางกรณี แพทย์อาจตัดสินใจได้ตามความเหมาะสม และแต่ละวิธีจะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน

 
mom-baby-cartoon


แม้ผ่าคลอด...ก็เตรียมความพร้อมให้ลูกรักก้าวไปได้ไกลกว่า
เพราะการทำงานร่วมกันแบบซินไบโอติก (Synbiotic) ของ จุลินทรีย์สุขภาพโพรไบโอติก และ ใยอาหารพรีไบโอติก ในน้ำนมแม่ มีส่วนสำคัญในการสร้างภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอดได้ คุณแม่จึงควรให้ทารกทานนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นให้อาหารตามวัยที่ปลอดภัยและเหมาะสม ควบคู่กับให้นมแม่ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่า เพื่อพัฒนาระดับภูมิต้านทานให้ลูกน้อยผ่าคลอดได้เทียบเท่ากับเด็กที่คลอดธรรมชาติ หากคุณแม่มีความจำเป็นไม่สามารถให้นมลูกได้ ควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับคำแนะนำด้านโภชนาการอย่างเหมาะสม

บทความที่เกี่ยวข้อง