การดูแลแผลผ่าคลอดและ 10 วิธีทำให้แผลหายเร็วขึ้น
เมื่อเห็นแผลเย็บจากการผ่า คลอดลูก แปลว่าคุณแม่ได้ทาภารกิจอันยิ่งใหญ่สาเร็จแล้ว งานต่อไปคือการดูแลให้แผลที่เย็บไว้หายเร็วขึ้นโดยการทาความเข้าใจเรื่องของแผลผ่าคลอด และตามคาแนะนาต่อไปนี้ค่ะ
การมีแผลผ่าคลอด
แม้การผ่าคลอดจะช่วยให้แม่ไม่ต้องเจ็บปวดกับการคลอดแบบธรรมชาติ แต่หลังจากการผ่าคลอดทำให้เกิดแผลที่ต้องรักษา และทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิตไปอีกสักพัก ซึ่งแผลผ่าคลอดนี้เองเป็นสิ่งที่แม่ต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษ เพราะแผลอาจเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือ แผลแยก ทำให้ต้องเย็บใหม่
คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด
การมีแผลผ่าคลอด
แม้การผ่าคลอดจะช่วยให้แม่ไม่ต้องเจ็บปวดกับการคลอดแบบธรรมชาติ แต่หลังจากการผ่าคลอดทำให้เกิดแผลที่ต้องรักษา และทำให้เกิดความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิตไปอีกสักพัก ซึ่งแผลผ่าคลอดนี้เองเป็นสิ่งที่แม่ต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษ เพราะแผลอาจเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือ แผลแยก ทำให้ต้องเย็บใหม่
คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด
แผลผ่าคลอดลักษณะเป็นอย่างไร
คุณแม่ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีแผลเย็บหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นแผลจาก การผ่าตัดคลอด หรือการตัดฝีเย็บหรือรอยฉีกขาดบริเวณช่องคลอด บาดแผลผ่าคลอดจะมีรูปร่างและลักษณะต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยเช่น วิธีและวัสดุที่แพทย์ใช้เย็บแผล โดยทั่วไปการผ่าตัดคลอดที่ผ่านการศัลยกรรมจะทำให้เกิดรอยแผลยาว 4-6 นิ้ว ซึ่งจะเป็นแผลลักษณะแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นใน หรือแผลอีกแบบคือแนวตั้งใต้สะดือ ขึ้นอยู่กับตอนผ่าคลอด และผิวชั้นนอกของแผลผ่าคลอดนี้จะเริ่มสมานกันหลังจากสัปดาห์แรกของการผ่าได้ผ่านไป จากนั้นแผลผ่าคลอดจึงปิดจะสนิท และเปลี่ยนลักษณะเป็นสีแดงอมม่วงราว 6 เดือน ก่อนจะจางเป็นสีขาวเรียบไปเรื่อยๆ จนหายดี
แผลผ่าคลอดที่เย็บไว้จะหายดีเมื่อไร?
โดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานกัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือ 2 - 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บ สิ่งสำคัญคือ ควรดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี ไม่ให้ติดเชื้อ เพื่อให้แผลสมานเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา
12 วิธีการดูแลแผลผ่าคลอดให้หายเร็วและบรรเทาเจ็บแผล
- อย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากนัก แม่ต้องห้ามยกของหนักเด็ดขาด โดยเฉพาะ 3 เดือนแรก
- หมั่นขมิบช่องคลอดบ่อยๆ เพื่อช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงในบริเวณนั้นมากขึ้นและกระตุ้นการสมานแผล
- รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง วิธีที่รวดเร็วก็คือ การฉีดละอองน้ำเพื่อล้างทำความสะอาด ทำวันละ 2-3 ครั้งและเช็ดให้แห้งอย่างเบามือ
- ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
- คุณแม่อาจใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณแผลได้ แต่ต้องไม่เกินครั้งละ 2-3 นาที ความเย็นจะช่วยลดอาการบวม แต่หากนานเกินไปก็จะทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณแผลน้อยลง
- ใช้ผ้ารัดท้องหลังคลอดเพื่อช่วยพยุงกล้ามเนื้อส่วนหลังเวลาขยับเดิน อีกทั้งยังช่วยลดความเจ็บปวดจากแผลผ่าคลอด อาการเจ็บแผลผ่าคลอดจะลดลงได้ เช่น ด้วยการใช้ผ้ายางยืดกับแผลผ่าตัดไม่ให้ดึงรั้งจากผนังหน้าท้อง และอาการปวดตึงแผลผ่าคลอดจะค่อยๆ ทุเลาหลังจาก 48 ชั่วโมงผ่านไป แต่ถ้ายังมีเจ็บ สามารถทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลช่วย
- แม่ต้องทานโปรตีน ซึ่งจะช่วยทำให้ แผลผ่าคลอดประสานกันไวขึ้น แม้หลายคนบอกว่าห้ามกินไข่ หรือนม แต่ทางการแพทย์แล้วทานได้ค่ะ แต่ทานให้พอดี ไม่เยอะเกินไป เพราะโปรตีนช่วยให้แผลผ่าคลอดหายเร็วขึ้น หรือประสานไวขึ้น
- ต้องขยับตัวบ้าง แม้แผลผ่าคลอดจะยังเจ็บมาก หลังวันผ่าคลอด 1 วัน ตามที่แพทย์สั่ง หากแม่ไม่เคลื่อนไหว อาจเกิดพังผืดขึ้นเกาะยึดติดอวัยวะภายในช่องท้องเสี่ยงกับภาวะท่อนำไข่อุดตัน หรือผ่าคลอดลูกคนต่อไปทำได้ยาก
- อาบน้ำช่วงแรกของการผ่าคลอด ให้ใช้การเช็ดตัวแทนอยู่ที่ประมาณ 7 วัน เพราะถ้าโดนน้ำจะทำให้แผลผ่าตัดอาจติดเชื้อและเกิดอักเสบ แต่หลังตัดไหมแล้ว วันถัดมาก็สามารถอาบน้ำได้ และควรปล่อยให้แผลลอกไปเอง อย่าแกะเกา ควรดูแลแผลผ่าคลอดให้สะอาดและแห้งเสมอ เพราะจะทำให้แผลหายช้า และถ้าพบว่าแผลเกิดการอักเสบ บวมแดง ดูผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
- เดินบ่อยๆ ช่วยได้ เพราะแม่ผ่าคลอดจะฟื้นตัวช้ากว่าแม่ที่คลอดธรรมชาติ นอกจากนั้นอาจเสี่ยงเรื่องเลือดอุดตันที่ขา ทำให้การเดินบ่อยๆ ช่วยได้ สังเกตุได้จากวันหลังคลอดวันแรก ที่แพทย์จะให้คุณแม่ลุกเดินทันที เพื่อให้แม่ฟื้นตัวเร็วขึ้น และไม่เกิดภาวะเลือดอุดตันในภายหลัง การเดินนั้น ควรเดินตัวตรง ห้ามเดินหลังงอ เรื่องนี้สำคัญมาก การเดินหลังงออาจทำให้แม่หลังคู้ เพราะการผ่าคลอด ทำให้มดลูกสัมพันธ์กับกระดูกสันหลังด้วย
- หลังแผลแห้งสนิทแล้ว แผลปิดแล้ว ถ้าพบว่าเริ่มมีรอยแผลเป็น ให้ใช้ครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของวิตามิน E
เคล็ดลับสำหรับแม่แผลผ่าตัดคลอด
หลังผ่าตัดคลอด คุณแม่จำเป็นต้องได้รับโภชนาการที่เพียงพอ เพื่อให้แผลผ่าคลอดหายเร็วและเตรียมสารอาหารสำหรับสร้างน้ำนมให้ลูก หลายๆท่านมีความกังวลในเรื่องของการดูแลรักษาแผลผ่าตัดคลอด ต้องกินอะไรแผลจึงหายเร็ว ไม่เป็นแผลเป็นนูน และมักมีความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับอาหารบางชนิดว่าอาจแสลงต่อแผลผ่าตัด เช่น ข้าวเหนียว ทำให้แผลเน่า เป็นหนอง หรือไข่ ทำให้แผลนูน ไม่เรียบ และแผลอักเสบหายช้า ซึ่งทางการแพทย์ ไม่มีข้อห้ามในการทานอาหาร 3,4ดังกล่าว
หญิงหลังมีแผลผ่าคลอด ควรได้รับโภชนาการให้ครบทั้ง 5 หมู่ รับประทานไข่ไก่วันละ1 – 2 ฟอง ไข่เป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดีที่หาง่าย จะช่วยซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอหลังการผ่าตัด โปรตีนเหล่านี้จำเป็นต่อการสร้างเนื่อเยื่อและผิวหนังใหม่ที่ช่วยให้แผลหาย เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงโดยเร็ว ส่วนข้าวเหนียวนั้นเป็นอาหารจำพวกแป้ง ให้พลังงานและมีคุณค่าทางอาหารสูง(4)
ความจริงเกี่ยวกับเรื่องแผลผ่าคลอดเป็นนูน อักเสบหายช้านั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้
ปัจจัยของแผลผ่าคลอดหายช้า
- ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในครอบครัวที่มีคนเป็นแผลเป็นนูน มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้ง่ายกว่า เชื้อชาติจีน พบเกิดแผลเป็นนูนได้สูงกว่า และคนผิวดำพบว่ามีโอกาสเป็นแผลเป็นนูนสูงกว่าคนผิวขาว 5
- ระยะเวลาการหายของแผล ถ้าแผลที่หายช้าเกิน 3 สัปดาห์ขึ้นไป มีโอกาสเกิดแผลเป็นนูนได้สูงขึ้น 5
- การปฏิบัติตัว การเกิดแผลเป็นนูน เกิดจากความไม่สมดุลกันของร่างกายที่สร้างคอลลาเจนออกมาในปริมาณมากเกินไป ในช่วง 3 เดือนแรก ซึ่งมีโอกาสสูงที่แผลจะกลายเป็นแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ การยืดเหยียดจนแผลตึงหรือรู้สึกเจ็บแผลจะทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเองโดยการสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนา ๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น พอเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาได้
อาหารสำหรับแม่มีแผลผ่าคลอดควรหลีกเลี่ยง
- สุรา เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์ ไม่ควรรับประทาน เพราะว่าทำให้แผลหายช้าและอาจอักเสบได้
- อาหารสุกๆ ดิบๆ เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- อาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ในบางกลุ่ม เช่น อาหารทะเล เพราะถ้าแพ้แล้วอาจตามมาด้วยตุ่มผื่นคัน ส่งผลเสียให้กับแผลผ่าตัดด้วย
- อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาจส่งผลกับแผลผ่าตัดได้
แผลผ่าตัดของคุณแม่หลังคลอด เป็นแผลที่สะอาดปราศจากเชื้อ ไม่ต้องเปิดทำแผลทุกวัน จะปิดแผลด้วยวัสดุแบบกันน้ำ ดังนั้นหากไม่มีการซึมของแผลผ่าตัด คุณแม่ไม่ต้องแกะวัสดุปิดแผลออก และระมัดระวัง ไม่ให้แผลเปียกน้ำ โดยเนื้อเยื่อภายนอกจะสมานกันดีภายใน 2-4 สัปดาห์ ซึ่งระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน เมื่อ 1-2 สัปดาห์ มาตรวจหลังคลอด แพทย์จะแกะวัสดุปิดแผลและตรวจดูแผลอีกครั้ง แต่หากมีอาการปวดแผล และแผลอักเสบบวมแดงมาก ให้รีบมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
อ่านเรื่องการเตรียมตัวผ่าคลอด
ที่มาข้อมูลแผลผ่าคลอด
- http://haamor.com/th/การผ่าท้องคลอดบุตร/
- https://www.pobpad.com/คีลอยด์
- https://www.doctor.or.th/article/detail/3206
- หนังสือ 40 สัปดาห์ พัฒนาครรภ์คุณภาพ หน้า 232 -233 “การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด”
- http://haamor.com/th/แผลเป็นนูน/#article102
- คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างสม่ำเสมอ เน้นอาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ ท้องผูก
ข้อควรระวังแผลผ่าคลอด หากคุณแม่รู้สึกเจ็บตึงบริเวณแผลผ่าคลอดมาก หรือสงสัยว่าอาจมีการอักเสบติดเชื้อ ควรรีบไปพบสูติแพทย์ทันที
บทความนี้มีประโยชน์กับคุณหรือไม่?