เมื่อลูกรักอายุครบ 1 ขวบปี การให้ลูกได้ทานอาหารครบ 3 มื้อ ที่มีสารอาหารครบถ้วน 5 หมู่ ตามสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกาย ระบบประสาทและสมองของลูก เจริญเติบโตได้อย่างสมวัย แต่คุณแม่หลายๆ คน คงรู้ดีว่า การจะให้ลูกกินข้าวครบ 3 มื้อ ทั้งยังได้ตามสัดส่วนที่ร่างกายต้องการนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะเด็กเล็กมักมีปัญหาพฤติกรรมการกิน บางคน กินน้อย กินยาก หรือกินอาหารได้ไม่หลากหลาย จึงทำให้เขาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในปริมาณที่ต้องได้รับต่อวัน เพราะฉะนั้นในวันนี้ Hi-Family ขอชวนคุณแม่มาเช็กว่า ในแต่ละวันลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนแล้วหรือยัง? มาเทียบกันกับตารางนี้เลยค่ะ
ปริมาณอาหารสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี ที่ควรได้รับใน 1 วัน และอาหารทดแทน
Ref คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิกสุขภาพเด็กดี สำหรับบุคลากรสาธารณสุข สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2558
เมื่อทำเช็กลิสตามตารางด้านบนจะช่วยให้คุณแม่ทราบถึงพฤติกรรมการกินของลูกว่าปริมาณสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวันครบถ้วนหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว เด็กวัย 1-3 ขวบ ต้องการพลังงานโดยเฉลี่ยต่อวันมากถึง 1,000 แคลอรี โดยต้องเป็นพลังงานจากโปรตีนร้อยละ 8-10 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 และไขมันร้อยละ 30-40 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับต่อวัน และที่สำคัญต้องได้รับวิตามิน แร่ธาตุที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ตามนี้ด้วยค่ะ
วิตามินและแร่ธาตุช่วยให้ลูกเติบโตสมวัย
Ref. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กเล็กมักมีปัญหาพฤติกรรมการกิน บางคน กินน้อย กินยาก หรือกินอาหารไม่ครบตามสัดส่วนที่ควรได้รับ จึงทำให้เขาได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ สอดคล้องกับผลการวิจัยว่า เด็กไทยได้รับโภชนาการที่ไม่เหมาะสม
สารอาหารที่เด็กไทยส่วนใหญ่ขาด
เด็กไทย 1 ใน 3 ขาดธาตุเหล็ก และมากกว่าร้อยละ 50 ได้รับ ธาตุเหล็ก แคลเซียม สังกะสี วิตามินเอ วิตามินซี น้อยกว่าที่ควร ทั้งหมดนี้ คือสารอาหารที่มีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งสมอง
ผลจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
- เติบโตช้า
- ภูมิต้านทานต่ำ
- พัฒนาการสมองด้อยลง
- เรียนรู้ช้า
สารอาหารที่เด็กไทยส่วนใหญ่เกิน
90% ของเด็กเล็กบริโภคโปรตีนมากเกินจำเป็น (ทั้งจากการกินเนื้อสัตว์และนมวัว) เด็กอายุ 1-3 ปี ต้องการโปรตีนเฉลี่ย 1.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือประมาณ 17 กรัมต่อวัน เท่านั้น
ผลจากการได้รับโปรตีนมากเกินไป
ดัชนีมวลกายและไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและความดันโลหิตสูงได้ในอนาคต
Ref. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
บทความนี้มีประโยชน์กับคุณหรือไม่?