อาการแพ้นมวัว หายได้ถ้าแก้ตรงจุด นมสูตร eHF ทางเลือกสำหรับเด็กแพ้นมวัว
อาการแพ้นมวัว หรือโรคแพ้โปรตีนนมวัว พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบันพ่อแม่จึงควรเตรียมความพร้อม เพื่อรับมือได้อย่างเหมาะสม
7 อาการสังเกตลูกน้อย แพ้โปรตีนนมวัว
สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่อาจเข้าใจผิด
นมแพะ นมที่แม่มักเข้าใจผิดว่าเหมาะกับเด็กแพ้นมวัว
คุณแม่หลายๆท่าน ยังเข้าใจผิดว่าเมื่อแพ้นมวัว ให้เปลี่ยนมากินนมแพะแทนเพราะในความเป็นจริงแล้ววัวและแพะเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกัน โปรตีนของวัวและแพะเหมือนกันมาก เด็กที่แพ้นมวัว มีโอกาสแพ้นมแพะถึง 92% นมแพะจึงไม่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอาการแพ้นมวัว
นมถั่วเหลือง นมทางเลือกสำหรับเด็กแพ้นมวัว
อีกหนึ่งทางเลือกที่หลายๆ คนแนะนำอย่างนมถั่วต่างๆ โดยเฉพาะนมถั่วเหลืองนั้น ในความเป็นจริงนมถั่วเหลืองนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสแพ้ซะทีเดียวแต่มีโอกาสแพ้น้อยกว่านมวัว โดย พบโอกาสแพ้อยู่ 10-14% อย่างไรก็ตามแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกสูตรที่เหมาะสมกับคนไข้ด้วยหลายปัจจัย
"นมสูตร eHF สูตรที่เหมาะสมสำหรับเด็กแพ้นมวัว"
เพื่อลดความเสี่ยงอาการแพ้นมวัว ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเลือกโภชนาการที่เหมาะสมแต่ในกรณีที่ลูกไม่สามารถดื่มนมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกโภชนาการที่เหมาะสมโดยแพทย์มักแนะนำนมสูตร eHF หรือนมสูตรโปรตีนถูกย่อยอย่างละเอียดเพราะเด็กที่แพ้นมวัวกว่า 90%สามารถทานนมสูตรนี้ได้ ผลของการรับประทานนมสูตร eHF อาจทำให้เด็กมีอุจจาระสีเขียวได้ในบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติในช่วงแรกที่มีการเปลี่ยนชนิดของนม
นมสูตร eHF ในท้องตลาดนั้นมีทั้งจากโปรตีนที่ย่อยจาก เวย์และเคซีน ซึ่งสามารถคุมอาการแพ้นมวัวได้ทั้งคู่ โดยเวย์และเคซีนเป็นโปรตีนที่พบได้ในนมแม่และนมวัว มีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้
1. นมแม่มีสัดส่วนเวย์มากกว่าเคซีน
2. เวย์มีแลคโตส ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
โปรตีนเวย์เข้มข้นที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด
ย่อยโดยเอนไซม์ให้ได้โปรตีนขนาดเล็กช่วยลดการกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ จึงช่วยลดอาการแพ้นมวัว
นม eHF ที่ดีควรมี
มีพรีไบโอติก
มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ ช่วยเสริมภูมิต้านทานให้ลูกน้อย
รสชาติดีกว่า ดื่มง่าย
นมสูตร eHF จะมีรสชาติเฝื่อนตามธรรมชาติของนม ควรเลือกนมแบบที่รสชาติดีกว่า นมสูตร eHF ที่ย่อยจากเวย์ มีการศึกษาแล้วพบว่ารสชาติดีกว่า ทำให้เด็กทานง่ายขึ้นและมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตสมวัย
นมสูตร eHF ที่มีแลคโตสและไม่เติมแลคโตส แตกต่างกันอย่างไร
นมสูตร eHF เป็นอาหารทางการแพทย์ ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ โดยในท้องตลาดนั้นก็มีนม eHF ให้เลือกอยู่หลากหลายสูตร เราจึงมีข้อมูลวิธีการเลือกนม eHF ให้ดีต่อลูกน้อย ดังนี้
สูตรที่มีแลคโตสเหมาะกับเด็กที่ไม่มีอาการท้องเสียร่วม
แลคโตสนั้น เป็นน้ำตาลธรรมชาติที่พบได้ในนมต่างๆ รวมถึงนมแม่ หากเด็กไม่มีอาหารท้องเสีย หรือไม่มีภาวะที่ย่อยน้ำตาลแลคโตสไม่ได้ การมีแลคโตสจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า
สูตรที่ไม่เติมแลคโตสเหมาะกับเด็กที่มีอาการท้องเสียร่วม
หากลูกมีอาการท้องเสียร่วมด้วย แพทย์อาจแนะนำให้เลือกใช้สูตรที่ไม่เติมแลคโตส จนกระทั่งไม่มีอาการท้องเสีย แล้วค่อยให้กลับมารับประทานสูตรที่มีแลคโตสตามปกติ
ระยะเวลาที่ควรรับประทานนมสูตร eHF
กรณีที่แพ้ไม่มากอาจกลับมากินนมวัวได้หลังอายุ 1 ขวบ กรณีแพ้รุนแรงอาจจะต้องทานสูตร eHF เป็นนมเสริมไปเรื่อยๆจนถึงอายุ 2-3 ขวบ คุณหมอมักนัดตรวจติดตามอาการเป็นระยะเพื่อดูว่าเด็กน่าจะกลับมากินนมวัวปกติได้หรือยัง
ถ้าลูกแพ้นมวัวควรเริ่มอาหารเสริมอย่างไร
ควรให้ลูกเริ่มอาหารตามวัยอย่างเหมาะสมโดยเริ่มให้อาหารทีละอย่าง 3-5 วัน เพื่อสังเกตอาการว่าลูกแพ้อาหารชนิดนั้นหรือไม่ แล้วค่อยเพิ่มอาหารชนิดอื่นเพิ่มเข้ามาในช่วงเวลาเดียวกัน
การดูแลเด็กแพ้นมวัวควรดูแล และสอนลูกให้ระมัดระวังการรับประทานอาหารอย่างไร ?
นอกจากเรื่องนมแล้ว วิธีการปฏิบัติตัวหรือการดูแลเด็กที่แพ้นมวัว ก็เป็นอีกสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เพื่อนำไปใช้และนำไปสอนลูกเมื่อรู้ความ เพื่อให้เขาสามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
เลือกอาหารให้ลูกอย่างระมัดระวัง
การเพิ่มอาหารชนิดใหม่ๆ เข้าไปในมื้ออาหาร ควรให้ลูกลองรับประทานอาหารใหม่ๆ ทีละชนิดและคอยสังเกตว่าลูกแพ้หรือไม่ จึงค่อยเสริมอาหารชนิดอื่นเพิ่มเข้าไป
เริ่มอาหารตามวัยอย่างเหมาะสม
ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มอาหารเสริม ไม่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสแพ้สูง เช่น ถั่ว, แป้งสาลี ไข่และอาหารทะเล และควรเริ่มหลังกินอาหารเสริมอื่นๆได้และไม่มีอาการผิดปกติ หากเริ่มช้าอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพ้อาหารหรือผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ได้
ปรึกษาแพทย์เสมอ
หากพบว่าลูกมีอาการเข้าข่ายการแพ้อาหาร หรือแพ้นมวัว ควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและทำการรักษาอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ไม่ควรซื้อยาเพื่อมารักษาให้ลูกด้วยตัวเอง
เตรียมพร้อม เพื่อลูกไม่แพ้นมวัว
ลูกแพ้นมวัว นานแค่ไหนถึงหาย?
โดยเฉลี่ยเด็กที่แพ้นมวัวที่มีความรุนแรงน้อย มักจะหายภายใน 1 ปี แต่หากมีอาการรุนแรงปานกลาง จะหายประมาณ 1-3 ปี และกรณีมีอาหารรุนแรงมาก หรือมีการแพ้นมวัวและอาหารชนิดอื่นๆร่วมด้วยจะหายประมาณ 3-5 ปี
ดัดแปลงจาก จรุงจิตร์ งามไพบูลย์, cow's milk allergy, 2555
ยา... เป็นทางออกของการรักษาหรือไม่?
หากมีอาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นผิวอักเสบ แพทย์อาจให้ยาทาลดอาการอักเสบผสมสารสเตียรอยด์อย่างอ่อน ใช้ทาบางๆ เพื่อให้อาการดีขึ้นแล้วหยุดใช้ แต่หากไม่ทำร่วมกับการงดอาหารที่แพ้อาการก็จะกลับมาอีก การงดอาหารที่แพ้หรือเลือกสูตรนมที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา
ทำไมลูกจึงแพ้นม
เด็กเล็กเสี่ยงต่อการแพ้อาหาร เนื่องจากระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โปรตีนในอาหารซึ่งโมเลกุลมีขนาดใหญ่ อาจผ่านระบบทางเดินอาหารไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน โดยในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสสูงที่จะแพ้โปรตีนนั้นๆ รวมไปถึงโปรตีนนมวัว
นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้นมผสมที่ดัดแปลงจากนมวัว แม้โดยปกติแล้วโปรตีนในนมวัวไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ด้วยลักษณะโปรตีนที่ต่างไปจากนมแม่ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในเด็กบางรายได้ ด้วยเหตุนี้อาการแพ้นมวัว จึงเป็นหนึ่งในอาการแพ้อาหารที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก และในบางกรณีอาจรวมไปถึงเด็กที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวด้วย เนื่องจากอาหารที่แม่ได้รับสามารถส่งผ่านไปทางนมแม่ได้
ลูกแพ้นมวัว จะแพ้อย่างอื่นหรือไม่?
เด็กที่แพ้นมวัวมีโอกาสแพ้นมแพะได้ 92% เด็กที่แพ้นมวัวมีโอกาสแพ้นมสูตรถั่วเหลืองได้ 10 - 14% หรือมากกว่าเด็กที่แพ้นมวัวมีโอกาสแพ้นมสูตรโปรตีนถูกย่อยอย่างละเอียดได้น้อยกว่า 10% เด็ก 50% จะมีอาการแพ้อาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ แพ้ไข่ แพ้อาหารทะเล เป็นต้น
ดัดแปลจาก
Bellioni-Businco B., et al., J Allergy Immunol. 1999. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จรุงจิตร์ งามไพบูลย์. รวมความรู้เรื่องแพ้นมวัว. 2555.
อาหารเสริมเริ่มอย่างไรในเด็กแพ้นมวัว?
การแพ้อาหารชนิดหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเลือกอาหารไปจนกว่าลูกจะหาย โดยต้องระวังไม่ให้ลูกแพ้อาหารอื่นๆ เพิ่มขึ้นวิธีการเริ่มให้อาหารเสริมชนิดใหม่ๆ จึงมีความสำคัญ เพราะนมแม่คือนมที่ดีที่สุดจึงควรให้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้แนะนำให้เริ่มอาหารเสริมในช่วงที่เหมาะสม โดยเริ่มให้อาหารใหม่ทีละ 1 อย่าง บันทึกและสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายใน 3 – 5 วันหลังจากนั้น โดยลำดับการให้อาหารเสริมควรเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์
ดัดแปลงจาก จรุงจิตร์ งามไพบูลย์. รวมความรู้เรื่องแพ้นมวัว. 2555.
ทำไมลูกมีอาการแพ้นมวัว
การแพ้นมวัว คือ การแพ้ส่วนของโปรตีนที่อยู่ในนมวัวนั่นเอง จึงเรียกอย่างถูกต้องตามศัพท์ทางการแพทย์ คือ แพ้โปรตีนนมวัว และอย่างที่กล่าวในเบื้องต้นว่าการแพ้โปรตีนนมวัวเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ซึ่งกลไกการเกิดการแพ้นั้นมาจากการที่ระบบภูมิต้านทานของร่างกายมีการตอบสนองต่อสารบางชนิดไวกว่าปกติ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่สารที่มีอันตราย
การแพ้โปรตีนนมวัวก็เช่นเดียวกัน โปรตีนในนมวัวไม่ใช่สารอันตราย และไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติใดๆในคนทั่วไป แต่ในเด็กที่มีอาการแพ้นมวัว ระบบภูมิต้านทานของเด็กจะมองเห็นว่าโปรตีนนมวัวเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงมีการปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมาเพื่อกำจัดโปรตีนนมวัว สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นนั่นเองที่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆขึ้น
มีข้อสันนิษฐานว่า การที่แพ้โปรตีนนมวัวนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในเด็กเป็นเพราะว่าระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิต้านทานของเด็กโดยเฉพาะในเด็กทารกซึ่งยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โปรตีนนมวัวซึ่งโมเลกุลมีขนาดใหญ่ อาจผ่านจากระบบทางเดินอาหารไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของเด็ก
ลูกแพ้นมวัว นานแค่ไหนถึงหาย?
โดยเฉลี่ยเด็กที่แพ้นมวัวที่มีความรุนแรงน้อย มักจะหายภายใน 1 ปี แต่หากมีอาการรุนแรงปานกลาง จะหายประมาณ 1-3 ปี และกรณีมีอาหารรุนแรงมาก หรือมีการแพ้นมวัวและอาหารชนิดอื่นๆร่วมด้วยจะหายประมาณ 3-5 ปี
ดัดแปลงจาก จรุงจิตร์ งามไพบูลย์, cow's milk allergy, 2555
ลูกแพ้นมวัว จะแพ้อย่างอื่นหรือไม่?
เด็กที่แพ้นมวัวมีโอกาสแพ้นมแพะได้ 92% เด็กที่แพ้นมวัวมีโอกาสแพ้นมสูตรถั่วเหลืองได้ 10 - 14% หรือมากกว่าเด็กที่แพ้นมวัวมีโอกาสแพ้นมสูตรโปรตีนถูกย่อยอย่างละเอียดได้น้อยกว่า 10% เด็ก 50% จะมีอาการแพ้อาหารอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ แพ้ไข่ แพ้อาหารทะเล เป็นต้น
ดัดแปลจาก
Bellioni-Businco B., et al., J Allergy Immunol. 1999. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัว โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย จรุงจิตร์ งามไพบูลย์. รวมความรู้เรื่องแพ้นมวัว. 2555.
ยา... เป็นทางออกของการรักษาหรือไม่?
หากมีอาการทางผิวหนัง เช่น ผื่นผิวอักเสบ แพทย์อาจให้ยาทาลดอาการอักเสบผสมสารสเตียรอยด์อย่างอ่อน ใช้ทาบางๆ เพื่อให้อาการดีขึ้นแล้วหยุดใช้ แต่หากไม่ทำร่วมกับการงดอาหารที่แพ้อาการก็จะกลับมาอีก การงดอาหารที่แพ้หรือเลือกสูตรนมที่เหมาะสมจึงเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา
อาหารเสริมเริ่มอย่างไรในเด็กแพ้นมวัว?
การแพ้อาหารชนิดหนึ่งแล้ว ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเลือกอาหารไปจนกว่าลูกจะหาย โดยต้องระวังไม่ให้ลูกแพ้อาหารอื่นๆ เพิ่มขึ้นวิธีการเริ่มให้อาหารเสริมชนิดใหม่ๆ จึงมีความสำคัญ เพราะนมแม่คือนมที่ดีที่สุดจึงควรให้นมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้แนะนำให้เริ่มอาหารเสริมในช่วงที่เหมาะสม โดยเริ่มให้อาหารใหม่ทีละ 1 อย่าง บันทึกและสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นภายใน 3 – 5 วันหลังจากนั้น โดยลำดับการให้อาหารเสริมควรเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์
ดัดแปลงจาก จรุงจิตร์ งามไพบูลย์. รวมความรู้เรื่องแพ้นมวัว. 2555.
ทำไมลูกจึงแพ้นม
เด็กเล็กเสี่ยงต่อการแพ้อาหาร เนื่องจากระบบทางเดินอาหาร และระบบภูมิต้านทานยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โปรตีนในอาหารซึ่งโมเลกุลมีขนาดใหญ่ อาจผ่านระบบทางเดินอาหารไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน โดยในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อโรคภูมิแพ้จะมีโอกาสสูงที่จะแพ้โปรตีนนั้นๆ รวมไปถึงโปรตีนนมวัว
นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้นมผสมที่ดัดแปลงจากนมวัว แม้โดยปกติแล้วโปรตีนในนมวัวไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ด้วยลักษณะโปรตีนที่ต่างไปจากนมแม่ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ในเด็กบางรายได้ ด้วยเหตุนี้อาการแพ้นมวัว จึงเป็นหนึ่งในอาการแพ้อาหารที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก และในบางกรณีอาจรวมไปถึงเด็กที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวด้วย เนื่องจากอาหารที่แม่ได้รับสามารถส่งผ่านไปทางนมแม่ได้
ทำไมลูกมีอาการแพ้นมวัว
การแพ้นมวัว คือ การแพ้ส่วนของโปรตีนที่อยู่ในนมวัวนั่นเอง จึงเรียกอย่างถูกต้องตามศัพท์ทางการแพทย์ คือ แพ้โปรตีนนมวัว และอย่างที่กล่าวในเบื้องต้นว่าการแพ้โปรตีนนมวัวเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิแพ้ ซึ่งกลไกการเกิดการแพ้นั้นมาจากการที่ระบบภูมิต้านทานของร่างกายมีการตอบสนองต่อสารบางชนิดไวกว่าปกติ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ใช่สารที่มีอันตราย
การแพ้โปรตีนนมวัวก็เช่นเดียวกัน โปรตีนในนมวัวไม่ใช่สารอันตราย และไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติใดๆในคนทั่วไป แต่ในเด็กที่มีอาการแพ้นมวัว ระบบภูมิต้านทานของเด็กจะมองเห็นว่าโปรตีนนมวัวเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงมีการปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมาเพื่อกำจัดโปรตีนนมวัว สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นนั่นเองที่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่างๆขึ้น
มีข้อสันนิษฐานว่า การที่แพ้โปรตีนนมวัวนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในเด็กเป็นเพราะว่าระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิต้านทานของเด็กโดยเฉพาะในเด็กทารกซึ่งยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ โปรตีนนมวัวซึ่งโมเลกุลมีขนาดใหญ่ อาจผ่านจากระบบทางเดินอาหารไปกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของเด็ก
นมแม่ดีที่สุด
เรามุ่งมั่นที่จะช่วยให้คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเราเชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งยังให้ประโยชน์กับทารกในหลายด้าน การเตรียมตัวช่วงก่อนและระหว่างการให้นมทารกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คุณควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่สมดุล
เมื่อคุณตัดสินใจที่จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการใช้นมสูตรสำหรับทารก อาจลดประสิทธิภาพในการสร้างน้ำนมของคุณเองและทำให้การกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งทำได้ยากขึ้น ดังนั้นก่อนเริ่มใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมร่วมด้วย หากจำเป็นต้องใช้นมสูตรสำหรับทารก คุณควรปฏิบัติตามข้อแนะนำในการเตรียม การใช้ และการเก็บรักษา อย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพที่ดีของทารก
เพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิธีให้อาหารทารก แนะนำปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทุกครั้ง
X