7 พฤติกรรมสำคัญของทารกแรกเกิด
03 ธ.ค. 63
1259
การกิน การกอด นอนหลับ ร้องไห้ นั่นคือพฤติกรรมเกือบทั้งหมดของทารกแรกเกิดในช่วงสองสามเดือนแรก แม้ทารกตัวน้อยของคุณจะสบตาคุณบ้าง แต่ก็ยังไม่ได้มีการตั้งใจสื่อสารอะไร ดังนั้น การเข้าใจพฤติกรรมทั้งหมดที่มีอยู่ซึ่งไม่มากของทารกแรกเกิด จะช่วยพ่อแม่ได้มาก เช่น การร้องไห้เป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะสังเกตเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของทารกแรกเกิดได้ดีที่สุด เพื่อพ่อแม่จะได้รู้ว่า ทารกหิว อึดอัด ถ่ายออกมา หรือง่วงนอน เพื่อการดูแลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งพฤติกรรมทั้ง 7 ของทารกปกติทั่วไปมีดังนี้ค่ะ

1. ทารกแรกเกิดคิดอะไรอยู่
ทารกแรกเกิดของคุณ กำลังอยู่ในช่วงของการค้นพบ การค้นหาว่าโลกนี้ทำงานอย่างไรเป็นครั้งแรก ดังนั้น การตอบสนองของคุณกับลูกน้อย จะเป็นคำตอบให้กับเขาทั้งหมด เช่น ถ้าคุณตอบสนองด้วยความใจร้อน โมโห นั่นจะเป็นส่ิงที่ลูกคุณจดจำ และสร้างปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารต่อไปในอนาคต หรือตัวอย่างเช่น ลูกน้อยแรกเกิดของคุณอาจพบว่าเมื่อเขาร้องไห้ ก็จะมีคนให้ในสิ่งที่เขาต้องการ อาจเป็นการเปลี่ยนผ้าอ้อม การกอด การอุ้ม หากเขาได้รับสิ่งนี้ เขาก็จะรับรู้ได้ถึงความไม่น่ากังวล หรือนั่นคือความปลอดภัยของสิ่งแวดล้อมที่เขาอยู่ นอกจากนี้ คุณควรตอบสนองกับการร้องไห้ของทารกอย่างรวดเร็วด้วยการปลอบทารกแรกเกิดของคุณด้วยความรัก ซึ่งจะช่วยให้ร้องไห้น้อยลงด้วยการรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นได้

2. สัญญาณพร้อมสำหรับอาหารทารก
ทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือน พ่อแม่ไม่ควรให้อาหารอื่นใด นอกจากนมอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นนมสำหรับเด็กทารก หรือนมแม่ก็ดี ซึ่งนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุด และหลังจาก 6 เดือน คุณสามารถสังเกตสิ่งเหล่านี้ได้ ว่าเขาพร้อมจะทานอาหารตามวัยสำหรับเด็กแรกเกิดได้หรือยัง
  • ทารกน้อยสามารถนั่งตัวตรงบนเก้าอี้สูงได้
  • มีน้ำหนักขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • ทารกน้อยสามารถเปิดปิดปากตอบสนองกับช้อนได้
  • สามารถขยับอาหารในปากได้
3. การนอนหลับของทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดแต่ละคนจะมีนิสัยการนอนหลับต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ มักจะนอนหลับคืนละ 6-8 ชั่วโมง ครั้งละ 20 นาทีถึง 4 ชั่วโมง และอาจมากถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน และท้องของทารกแรกเกิดจะเล็ก จุนมได้น้อย ทำให้หิวบ่อย และตื่นบ่อยเนื่องจากหิว ดังนั้นทารกแรกเกิดควรได้นมทุกๆ 2-3 ชั่วโมง

4. สาเหตุเมื่อทารกแรกเกิดร้องไห้
การร้องไหัหนักๆ (ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่อาจประสาทเสียได้) จะผ่านไปหลังจากหมดวัยทารกแรกเกิดนี้ เพราะยิ่งทารกของคุณโตขึ้น ก็จะยิ่งง่ายขึ้นในการที่คุณจะรู้ได้ว่า เขาร้องไห้เพราะอะไร และถ้าทารกแรกร้องไห้บ่อย และเป็นเวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารกับคุณว่าเขาต้องการบางสิ่งบางอย่าง หรือมีบางอย่างผิดปกติไป ซึ่งอาจเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้:
  • หิว
  • ง่วง เหนื่อย อยากนอน
  • หนาวหรือร้อนเกินไป
  • ถ่าย และต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • มีแก๊สในกระเพาะ อยากเรอ
  • ไม่สบาย หรือป่วย
  • ไม่มีสาเหตุ แค่ต้องการให้ดูแล กอด อุ้ม
5. การได้ยินของทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิด ทำได้มากกว่าที่คุณคิด เขาจะสามารถแยกแยะเสียง หรือโทนเสียงที่แตกต่างกันได้ ดังนั้นคุณควรพูดคุยกับลูกบ่อยๆ พร้อมสังเกตการได้ยิน โดยดูว่าทารกน้อยของคุณ สามารถหันไปทางเสียงของคุณหรือไม่

6. การหายใจของทารกแรกเกิด
เป็นไปได้ ถ้าทารกแรกเกิดจะมีการหายใจที่ผิดปกติในบางครั้ง นั่นคือ เมื่อทารกแรกเกิดหยุดหายใจเป็นเวลา 5 ถึง 10 วินาทีแล้วเริ่มหายใจอีกครั้งด้วยตนเองทันที อย่างไรก็ตาม อาจเริ่มไม่ปกติ เมื่อทารกหยุดหายใจนานกว่า 10 วินาที หรือเมื่อหน้าทารกน้อยเริ่มเปลี่ยนเป็น เขียวคล้ำถ้าพบอาการนี้ พ่อแม่ควรพาลูกน้อยไปห้องฉุกเฉินพบแพทย์ด่วน

7. ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reflex)
ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ทารกแรกเกิดจะไม่ขยับตัวมากนัก ร่างกายยังตอบสนองน้อยมาก และยังคงติดอยู่กับท่าขดตัวที่อยู่ในครรภ์ เช่น กำหมัด ข้อศอกงอสะโพกและหัวเข่า ฯลฯ แต่การคดงอเหล่านี้จะเริ่มหายไป เมื่อทารกเริ่มควบคุมการขยับร่างกายตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งทารกแรกเกิดจะมีการตอบสนองของร่างกายต่อ สิ่งเหล่านี้ในรูปแบบปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติ ‘Reflex’ ที่พ่อแม่สามารถศึกษาทำความเข้าใจการตอบสนองทางร่างกายของลูกน้อยแรกเกิดทั้งหลาย เพื่อเข้าใจธรรมชาติ เพื่อการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง

Source:
  • https://raisingchildren.net.au/newborns/behaviour/understanding-behaviour/newborn-behaviour
  • https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9706-pregnancy-newborn-behavior

บทความที่เกี่ยวข้อง